งานการเมือง ของ มานะ คงวุฒิปัญญา

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 มานะได้ลงสมัครเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยลงในพื้นที่เขต 32 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตภาษีเจริญ โดยแข่งขันกับทางผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ ทันตแพทย์สุรันต์ จันทร์พิทักษ์ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ของเขตบางกอกใหญ่ ซึ่งมาลงแทนพี่ชาย คือ เภสัชกร วิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.ในพื้นที่นี้อย่างยาวนาน ที่ย้ายไปลงในเขตคลองสาน แทน ปราโมทย์ สุขุม ที่เลิกเล่นการเมืองไป ผลการเลือกตั้ง มานะเป็นฝ่ายได้รับการเลือกตั้ง

หลังคดียุบพรรคไทยรักไทย นายมานะได้เข้าสังกัดกับพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ได้ลงเลือกตั้งในเขต 11 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และหลังคดียุบพรรคพลังประชาชน นายมานะก็ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง[2] แต่ก็แพ้ให้กับวิลาศ จันทร์พิทักษ์ เจ้าของพื้นที่เดิม

นายมานะ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[3] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ฐานิสร์ เทียนทอง) จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน[4]

ต่อมาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (จาตุรนต์ ฉายแสง) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556[5]

ในการปราศัยของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ครั้งหนึ่งที่สนามหลวง นายมานะก็ได้ขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยอ้างว่า เพราะรู้จักกับนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำคนหนึ่งของ นปก. มานาน

ใกล้เคียง

มานะ มานะ มานี ปิติ ชูใจ มานะ รัตนโกเศศ มานะ มหาสุวีระชัย มานะ โลหะวณิชย์ มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ มานะ คงวุฒิปัญญา มานะ แพรสกุล มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต มานะ ประเสริฐวงศ์